วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

ระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( RBM : Result Based Management )

ระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( RBM : Result Based Management )

นายวรินทร์   วิรุณพันธ์  ผู้อำนวยการ  สำนักงาน กศน. จังหวัดอุดรธานี  ชี้แจงแนวทางในการปฏิบัติงานตามระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( RBM : Result Based Management )


1. การปฏิบัติงานตามระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM: Result Based Management)

          ยึดแนวทางการปฏิบัติงานตามระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยมีการดำเนินการต่าง ๆ ตามผัง

ระบบงานต่อไปนี้ 

          1.1 การวิเคราะห์งาน (SWOT Analysis)หมายถึงการตรวจสอบหรือค้นหาจัดแข็ง(S:Strange) จุดอ่อน (W:Weakness) โอกาส(O: Opportunity) และอุปสรรค (T: Threats) ของงานและโครงการที่ตนเองรับผิดชอบเพื่อนำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์

          1.2 วิสัยทัศน์ (Vision)วิสัยทัศน์หมายถึง เป้าหมายที่มีลักษณะกว้างๆ เป็นความต้องการใน

อนาคต โดยมิได้กำหนดวิธีการไว้เป็นข้อความทั่วไป ซึ่งกำหนดทิศทางของภารกิจ เป็นความมุ่งหมายใน

สถานภาพที่เราจะไปเป็น หรือเราไปอยู่ ณ วันหนึ่งในอนาคต ที่องค์กรมุ่งหมาย มุ่งหวังหรือประสงค์จะ
เป็น หรือจะมีในอนาคตให้มีการกำหนดวิสัยทัศน์ในแต่ละงานและโครงการที่ตนเองรับผิดชอบ ให้สอดคล้อง
กับนโยบายและเป้าหมายขององค์กร
          1.3พันธกิจ(Mission) หมายถึงคำแถลงความมุ่งประสงค์ขององค์กร พันธกิจควรชี้นำการกระทำของ
องค์กร ขยายความเป้าหมายโดยรวมทั้งหมด จัดเตรียมหนทางและชี้นำการตัดสินใจ พันธกิจเป็นการจัดเตรียม
"ข่ายงานหรือบริบทภายในแผนกลยุทธ์ขององค์กรที่ได้กำหนดไว้" พันธกิจมักเป็นประโยคสั้น ๆ ประมาณหนึ่งถึงสองบรรทัด ถ้ามีพันธกิจหลายอย่างก็อาจแบ่งเป็นหลายข้อได้ให้มีการกำหนดพันธกิจในแต่ละงานและ

โครงการที่ตนเองรับผิดชอบ ให้สอดคล้องวิสัยทัศน์
          1.4 เป้าประสงค์ (Goal) หมายถึงสภาพในอนาคตหรือระดับผลการดำเนินงานให้บรรลุเป้าประสงค์
เป็นได้ทั้งระยะสั้นหรือระยะยาว หรือจุดหมายปลายทางซึ่งชี้นำการปฏิบัติที่ต้องการให้บรรลุความสำเร็จ
เป้าประสงค์เชิงปริมาณอาจจะเรียกว่า เป้าหมาย ให้มีการกำหนดเป้าประสงค์ในแต่ละงานและโครงการที่
ตนเองรับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจ
          1.5 ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI: Key Performance Indicator)เป็นดรรชนีชี้วัดหรือหน่วยวัด
ความสำเร็จของการปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดขึ้น โดยเป็นหน่วยวัดที่ควรเป็นตัวเลขที่นับได้จริงและต้องสื่อถึง
เป้าหมายในการปฏิบัติงานที่สำคัญให้มีการกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จในแต่ละงานและโครงการที่ตนเอง
รับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และพันธกิจ และเป้าประสงค์ของงานและโครงการ
          1.6 ปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ (CSFs: Critical Success Factor)คือ ปัจจัยที่สำคัญยิ่งที่ต้องทำ
ให้มีหรือให้เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ องค์กรมีปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จเป็นหลักหมายที่
เป็นรูปธรรมย่อมส่งผลให้การทำงานบรรลุตามตัวชี้วัดความสำเร็จ
2. การควบคุมคุณภาพของงาน
มีการควบคุมคุณภาพของการปฏิบัติงานตามระบบของเดมมิ่ง (Deming Circle) ดังนี้
          2.1 การวางแผน (P: Plan)เป็นการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีในงานหรือโครงการที่ตนเอง
รับผิดชอบ โดยอาจทำเป็นแผนต่างหากโดยเฉพ่ะหรือรวมในแผนปฏิบัติการประจำปีของหน่วยงาน
          2.2 การปฏิบัติ (D: Do)เป็นการนำแผนปฏิบัติการที่จัดทำไว้ลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมทุกงาน
และโครงการที่ตนเองรับผิดชอบ
          2.3 การตรวจสอบประเมิน (C: Check)เป็นการจัดทำเกณฑ์การประเมินความสำเร็จของงาน จัดทำ
แบบประเมินและประเมินความสำเร็จของงานและโครงการที่ตนเองรับผิดชอบ
          2.4 การปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงาน (A: Action)เป็นการสรุปผลการปฏิบัติงาน โดยนำผลที่
ได้จากการตรวจสอบประเมินมาวิเคราะห์จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานและแนวทางการพัฒนางานที่ตนเอง
รับผิดชอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

นายวรินทร์ วิรุณพันธ์ ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน. จังหวัดอุดรธานี บันทึกเทปการสัมภาษณ์รายการ "ก้าวไปกับการศึกษาไทย"

            วันที่  2  มิถุนายน  2563    นายวรินทร์  วิรุณพันธ์  ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดอุดรธานี  ได้บันทึกเทปการสัมภาษณ์...